วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ท่องเที่ยวบึงพลาญชัยร้อยเอ็ด จร้า

มีความรู้เรื่องกระต่ายเยอะแล้วเรามาผ่อนคลาย....ด้วยการไปเที่ยวกันดีกว่า


เป็นผลงานที่ทำส่งอาจารย์ในรายวิชาที่เรียนนะค่ะ ติชมกันได้ >_<

ความรู้เล็กๆน้อยๆสำหรับผู้เลี้ยงกระต่าย


กระต่ายที่จะนำมาผสมพันธุ์ควรมีอายุอย่างน้อย 5-7 เดือน ขึ้นอยู่กับพันธุ์หรือมี น้ำหนักมากกว่า 2.5 กิโลกรัม อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์คือ 1 ต่อ 8-10 ตัวและ พ่อพันธุ์หนึ่งตัวไม่ควรผสมพันธุ์เกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ กระต่ายตัวเมียจะมีรอบการเป็นสัด ประมาณ 16 วัน ควรผสมพันธุ์เมื้อตัวเมียเป็นสัดเต็มที่ โดยดูที่อวัยวะเพศ ซึ่งจะบวมแดงมี เมือกเยิ้ม และกระต่ายอาจแสดงอาการกระวนกระวาย ส่งเสียงร้องหรือใช้เท้าตบพื้นกรง ถ้าเลี้ยงไว้หลายตัวรวมกันตัวที่เป็นสัดอาจขึ้นขี่ตัวอื่น เมื่อตัวเมียเป็นสัดเต็มที่แล้วให้จับ กระต่ายตัวเมียไปใส่ในกรงตัวผู้ ตัวเมียจะยกก้นให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ หลังจากผสมพันธุ์เสร็จ แล้วตัวผู้จะตกจากหลังตัวเมีย และมักส่งเสียงร้องพร้อมกับใช้เท้าตบพื้นกรง


แม่กระต่ายจะตั้งท้องประมาณ 29-35 วัน โดยเฉลี่ยประมาณ 31 วัน ในช่วงแรกของ การตั้งท้อง ลูกกระต่ายจะโตขึ้นอย่างช้า ๆ หลังจากวันที่ 15 ของการตั้งท้อง ลูกกระต่ายจะ โตขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรให้อาหารที่มีคุณค่าสูง และเพิ่มปริมาณอาหารให้กับแม่กระต่าย เมื่อแม่กระต่ายตั้งท้องได้ 4 สัปดาห์ ให้จัดเตรียมรังคลอดที่ปูด้วยฟางหรือหญ้าแห้งใส่ใน กรงก่อนคลอด 1-2 วัน แม่กระต่ายจะกัดขนปูรังคลอด และคาบวัสดุต่างๆ ที่เราจัดไว้ไห้มา จัดรังคลอดใหม่ ส่วนใหญ่แล้วแม่กระต่ายจะคลอดในตอนเช้ามืดและให้ลูกครอกละ 5-12 ตัว ลูกกระต่ายแรกเกิดจะยังไม่มีขนขึ้น และยังไม่ลืมตาแม่กระต่ายจะให้ลูกกินนมในตอนเช้าวันละ 1-2 ครั้งๆละ 3-4 นาที เท่านั้น เมื่ออายุ 10 วันลูกกระต่ายจะลืมตา และมีขนขึ้นเต็มตัว พออายุประมาณ 15 วัน ลูกกระต่ายจะเริ่มออกจากรังคลอดและเริ่มกินหญ้าหรืออาหารแข็งได้ ลูกกระต่ายจะหย่านมเมื่ออายุประมาณ 5-7 สัปดาห์


บางครั้งจะพบว่าแม่กระต่ายให้ลูกมากเกินไปทำให้ลูกกระต่ายในครอกนั้นเติบโตช้า ผู้เลี้ยงจึงอาจนำลูกกระต่ายใปฝากแม่ตัวอื่นเลี้ยงได้ แม่กระต่ายที่จะนำไปฝากจะต้องคลอด ห่างกันไม่เกิน 3 วัน และควรฝากเมื้อลูกกระต่ายมีอายุน้อยกว่า 5 วัน โดยนำกระต่ายที่จะฝาก ไปถูกับขนของแม่กระต่ายที่จะรับฝากเลี้ยงแล้วนำไปรวมกลุ่มกับลูกกระต่ายที่มีอยู่ก่อนแล้ว ในกรณีที่ไม่มีแม่กระต่ายให้ฝากเลี้ยงอาจนำลูกกระต่ายมาเลี้ยงเองก็ได้ โดยใช้อาหารแทนนม ดังตารางที่ 3 ส่วนขวดนมก็อาจใช้หลอดฉีดขนาดเล็กหรือหลอดยาหยอดตา โดยที่ปลาย ของหลอดมีสายยางขนาดเล็กต่อสวมไว้ เพื่อให้ลูกกระต่ายดูดนมจากหลอดได้ และทำการเลี้ยงดังตารางที่ 4

ตารางที่ 4 อาหารแทนนมที่ใช้เลี้ยงลูกกระต่าย ส่วนประกอบ ปริมาณ
ไข่แดง 1 ฟอง
นมผง 120 ลบ.ซม. (ลูกบาศก์เซนติเมตร)
น้ำสะอาด 120 ลบ.ซม. (ลูกบาศก์เซนติเมตร)
>น้ำเชื่อม 15 ลบ.ซม. (ลูกบาศก์เซนติเมตร)

ที่มา : Dale L. Brooks, 1986




ตารางที่ 5 การเลี้งดูลูกกระต่ายกำพร้า อายุ การเลี้ยงดู
1 สัปดาห์ ป้อนนมวันละ 5 ลบ.ซม. วันละ 3 เวลา
2 สัปดาห์ ป้อนนมวันละ 15 ลบ.ซม. วันละ 3 เวลา
3 สัปดาห์ ป้อนนมวันละ 25 ลบ.ซม. วันละ 3 เวลา เริ่มให้ผักสด หญ้า และอาหารอัดเม็ด นำกระต่ายออกมาเล่นบ้าง
6-8 สัปดาห์ งดให้นม ให้กินผักสด หญ้า และอาหารอัดเม็ด

กระต่ายน้อยน่ารัก


GIGANTIC Rabbit

กระต่ายยักษ์ Giant Rabbit

ลักษณะ ทางกายวิภาค มีลักษณะทั่วไปเหมือนกระต่ายเเต่ต่างกันก็เพียงขนาดที่ใหญ่กว่ามาก

อัตรา การโต 10-15กิโลกรัม มีขนาดเท่าสุนัขขนาดกลาง

การเลี้ยงดู เลี้ยงเหมือนกระต่ายทั่วไปขอให้ห่วงเรื่องความสะอาดของน้ำ-อาหารรวมไปถึง สถานที่เลี้ยงด้วย ต้องสะอาดเเละมีอากาศถ่ายเทสะดวก **ถ้าเลี้ยงในห้องเเอร์จะดีมาก**

อุปนิสัย เหมือนกระต่ายทั่วไป

อาหาร หญ้าขน หญ้าเเห้ง อาหารกระต่ายสำเร็จรูป

ข้อพึงระวังในการเลี้ยง อากาศภายในที่อยู่อาศัยนั้นต้องเเน่ใจว่าถ่ายเทสะดวก เเละ ไม่เกิดการอับชื้น เพราะเนื่องจาก ฉี่ของกระต่ายนั้น มีเเอมโมเนีย ซึ่งจะสามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบทางเดินหายใจ เเละหากกระต่ายเหยียบฉี่ตลอดจะทำให้ขากระต่ายเป็นเเผลได้
ควรมีสถานที่ กว้างขวางเพื่อให้กระต่ายได้วิ่งเล่นเเละออกกำลังกายเเละได้รับเเสงเเดดด้วย

ข้อ สังเกตุเมื่อไม่สบายเเละโรคที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงการรักษา

ควรป้องกัน ก่อนที่จะเกิดโรค

1 ควรพาเค้าไปพบสัตว์เเพทย์เป็นประจำตามใบนัดเพื่อทำการฉีดวัคซินตามโปรเเกรม

2โรค เครียดที่เกิดจากความร้อน

อาการ ปากเเละจมูกจะมีความชื้นสูง เเละอาจสูงไปถึงคาง เเละอาจมีอาการร่วมคือ เเทบไม่ขยับตัวเลยเอาเเต่นอน เมื่อมีอาการมากขึ้นจะทำให้เลือดออกทางหูได้

การรักษา หากพบเเล้วควรรีบเเยกเปลี่ยนที่ทันทีเเละพาไปที่ที่มีอากาศถ่ายเทเย็นสบาย เเละเงียบสงบ พยายามลดอุณหภูมิภายในร่างกายโดยเร็ว **โดยการจุ่มกระต่ายในน้ำเย็นประมาณ 10 วินาที
***ขอย้ำ 10 วินาที *** ส่วนหัวไม่ต้องจุ้มเเค่เอาน้ำลูบก็พอ

3 โรคระบบทางเดินอาหาร

อาการ ท้องเสีย ถ่ายเหลว

การรักษา ใช้ยา คลอเตตราซัยคลิน หรือ ออกซีตราซัยคลิน ในกินวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น กินร่วมกับ ผงน้ำตาลเกลือ เเร่ โออาเอส เพื่อทดเเทนการสูญเสียน้ำเเละเกลือเเร่ถายในร่างกาย

4การ เกิดอัมพาตที่ส่วนหลัง

เกิดจาก การอุ้มกระต่ายอย่างผิดวิธี หรือ เมื่อกระต่ายตกใจเเล้วยกตัวด้วยเท้าหลังอย่างเเรงมีผลทำให้กระดูกสันหลัง เลื่อน

อาการ กระต่ายจะเคลื่อนที่ด้วยขาหน้าเป็นหลักกระเพราะปัสสาวะอาจขยายใหญ่ กระดูกสันหลังเลื่อนเเละไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลังให้ เกิดอัมพาต

หาก เป็นเเล้วรักษาได้ยากมากเนื่องจากกระดูกสันหลังเเล้วมีเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากของระบบภายในร่างกาย

5 เเผลที่เท้า

เกิด จาก สถานที่เลี้ยงสกปรก ชื้นหรือเกิดจากการเหยียบฉี่ของตัวกระต่ายเองอย่างที่กล่าวไว้เเล้ว ว่า ฉี่กระต่ายนั้นมีเเอมโมเนีย

อาการ เกิดเเผลที่ฝ่าเท้า ขนบริเวณนั้นจะหลุดร่วง เกิดการอักเสบ หาก ไม่ได้รับการดูเเล กระต่ายจะเป็นมากขึ้นจะเกิดการติดเชื้อ สะเเตฟฟิลโลคลอดคลัด เเละมีหนองเกิดขึ้น เป็นได้ทั้งขาหน้าเเละขาหลัง

การรักษา ใช้น้ำอุ่นล้างเเผลเเล้วใช้ยาฆ่าเชื้อ ส่วนในกรณีที่เกิดจนเป็นหนอง ให้ทำการเปิดเเผลเเล้วล้างเอาหนองออกให้หมด หลังจากนั้นใช้ ทิงเจอร์ไอโอดีนทา ทำเช่นนี้ทุกวันจนกว่าเเผลจะหายดี
**ขอให้คำนึง เรื่องความสะอาดเเละถูกหลักอนามัยด้วยนะครับ**

6 ก้อนขนในกระเพาะอาหาร

เกิดจาก การกินขนของตัวเองเนื่องมาจากการได้รับอาหารไม่พอเหมาะ เช่นการกินอาหารจำพวกพืชผักน้อยเกินไป

อาการ บนตัวกระต่ายขนหายไปเป็นย่อมๆ เเต่ไม่พบขนกระต่ายที่หลุดร่วงเลย เเละอาการที่จะเกิดขึ้นต่อมา คือ ไม่กินอาหาร เพราะ ขน ที่กินเข้าไปนั้นรวมตัวกันเป้นก้อนอุดตันที่กระเพาะอาหาร

รักษาโดย การกรอกน้ำฟืชลงไปในส่วนของกระเพาะอาหาร

วิธีการเลือกซื้อกระต่ายและการแยกเพศกระต่าย...

หลายๆท่านเคยซื้อกระต่ายมาเลี้ยง และพบปัญหาและมีคำถามต่างๆ มากมาย แต่ไม่ทราบจะหันหน้าไปปรึกษาใคร จนในที่สุดก็เกิดอาการเบื่อหน่ายและพาลเข็ดจนเลิกเลี้ยงไปเลยก็มี เช่นซื้อเพศเมียมา เลี้ยงๆไปถึงจะเห็นว่าเป็นเพศผู้ พอกลับไปหาคนขายก็ตอบอย่างไม่รับผิดชอบว่า...
"ก็ดี ให้เก็บไว้เป็นพ่อพันธุ์"...จะเก็บไว้เป็นพ่อพันธุ์ยังไงล่ะก็มีแต่ตัวผู้ทั้งนั้น

หรือบางท่านซื้อเพศผู้มา เพราะไม่ต้องการมีลูกเป็นภาระ พอเลี้ยงไป 4 เดือนไม่รู้ว่ามีลูกโผล่ขึ้นมาได้ยังไงตั้ง 4-5 ตัว วิ่งตามกินนมเจ้าตัวที่คนขายบอกว่าเป็นตัวผู้กันยั้วเยี้ย พอกลับไปหาคนขายกลับตอบอย่างอารมณ์ดีว่า "ก็ดีซิ ได้แถมตั้ง 4 ตัว" อีกเรื่องหนึ่ง ตอนซื้อลูกกระต่ายอายุไม่ถึงเดือน คนขายก็บอกว่าเป็นพันธ์แคระ จะโตกว่านี้ไม่เท่าไรหรือบอกว่าเป็นพันธุ์นั้นพันธุ์นี้ ชื่อก็ฟังดูเป็นฝรั่งดี แต่พอเลี้ยงๆไป ตัวก็โตจนจะล้นกรง ทั้งหน้าตาและขนก็ไม่ต่างไปจากกระต่ายพื้นเมืองบ้านเราเลย

ยังมีปัญหาต่างๆ อีกมากมายที่คนรักสัตว์อย่างพวกเราถูกพวกพ่อค้าหัวใสแต่ไม่มีความรับผิดชอบหลอก ที่หนักที่สุด ที่ทำให้ผู้รักกระต่ายหลายๆ รายเข็ด เลิกเลี้ยงกระต่ายไปเลยก็คือ ตอนซื้อถามคนขายว่ากระต่ายมีอายุอยู่ได้กี่ปี คนขายบอกว่า 5-6 ปี แต่พอซื้อมาอยู่บ้านเราได้ 3-4 วัน ก็นอนตายตัวแข็งทื่อโดยไม่ทราบสาเหตุ (หรือว่าอาจฟังผิดไปเองระหว่างคำว่า "ปี" กับ "วัน") แต่ทั้งนี้ก็ไม่กล้ากลับไปหาคนขายเพราะกลัวเขาจะตอบว่า "ก็โง่เองช่วยไม่ได้"

จากครั้งนั้นมาผู้เขียนก็เริ่มค้นคว้าหาความรู้เรื่องกระต่ายอย่างจริงจังจากห้องสมุด จากมหาวิทยาลัยต่างๆ จากหนังสือวิธีการเลี้ยงกระต่ายของต่างประเทศ และจากประสบการณ์การเลี้ยงและสัมผัสจากของจริง ก็ยังมีอีกหลายๆ เรื่องที่ยังไม่รู้และยังมีปัญหาใหม่เกิดขึ้นให้ต้องค้นคว้ากันต่อไป แต่ก็พอจะมีความรู้และประสบการณ์อยู่บ้างจึงขออาสาถ่ายทอดให้ผู้ที่รักและกำลังคิดจะเริ่มเลี้ยงกระต่ายให้ได้ทราบกัน . สถานที่ขาย ควรเลือกจากร้านหรือฟาร์มที่เชื่อถือได้ บริเวณที่ขายควรสะอาด มีการรับประกันสุขภาพ หากป่วยหรือตายจากโรคติดต่อในเวลาที่กำหนดควรนำไปเปลี่ยนตัวใหม่ได้ ถ้ามีประวัติสายเลือด "พ่อ แม่ ปู ย่า ตา ยาย" จะดีมาก (สำหรับกรณีกระต่ายพันธุ์ที่แท้เท่านั้น)

สุขภาพ กระต่ายซึ่งมีสุขภาพแข็งแรงดูได้ดังนี้

1.ดวงตาใสสะอาด ฉายแววฉลาด ไม่มีขี้ตา
2.จมูก ปลายเนื้อจมูกชื้นเล็กน้อย ไม่แห้งและไม่เปียกชุ่ม บริเวณใต้คางต้องแห้งสนิท
3.บริเวณก้นและอวัยวะเพศสะอาด ไม่มีอุจจาระติดเลอะเทอะ เพราะอาจจะท้องเสียหรือเคยท้องเสีย
4.ขนบริเวณใต้ท้องควรแน่นและปกคลุมมองไม่เห็นหนังท้องใส เพราะอาจจะเป็นโรคพยาธิ หรือโรคอื่น ๆ ที่ยังไม่แสดงอาการ ซึ่งมักจะทำให้กระต่ายอายุสั้น และตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
5.บริเวณจมูก ใบหู และเท้าทั้งสี่ข้าง ไม่มีแผลหรือผิวหนังตกสะเก็ดเป็นขุย
6.ในรูหูไม่มีขี้หูอุดตัน เพราะอาจเป็นรังของตัวไร กระต่ายที่อาการเช่นนี้จะไม่ถึงตาย แต่จะทำให้ไม่แข็งแรงและโตช้า และจะลุกลามไปยังตัวอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว
7.ฟันหน้าจะต้องไม่ยื่น กระต่ายเมื่อโตเต็มที่ อายุ 3 เดือนขึ้นไปต้องมีฟันหกซี่ กระต่ายเล็ก จะมีฟัน 4 ซี่
8.ลำตัว เวลาคลำดูกระดูกสันหลังจะต้องไม่โปน ไม่พบกระดูกซี่โครงเป็นซี่ๆ เนื้อแน่นอกเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ และสะโพกกลมเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ
9.สุขภาพโดยรวม มีความร่าเริงแจ่มใส และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมดี เวลาจับต้องดิ้นหรือวิ่งหนีไม่ยอมให้จับได้ง่ายๆ

การดูเพศ

การคัดเพศในกระต่ายเล็ก อาจจะทำได้ตั้งแต่หลังคลอด 1 ถึง 2 วัน แต่โดยทั่วไปแล้ว เพื่อความถูกต้องและไม่ผิดพลาด ควรคัดเพศเมื่อกระต่ายมีอายุตั้งแต่ 3 สัปดาห์ขึ้นไป เนื่องจากสังเกตความแตกต่างระหว่างเพศได้ง่ายและชัดเจน

การจับกระต่ายเพื่อดูเพศ โดยใช้มือซ้ายจับบริเวณหนังตรงส่วนหลังของกระต่าย แล้วหงายท้องขึ้นให้หัวห้วยลง ส่วนก้นหันเข้าหาตัวเอง ลักษณะเช่นนี้ช่องอวัยวะเพศจะอยู่ติดกับช่องทวารหนัก ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือขวา กดลงในแนวตั้งฉากกับส่วนท้อง โดยนิ้วชี้อยู่เหนืออวัยวะเพศ นิ้วหัวแม่มืออยู่ตรงช่องทวารหนัก เมื่อกดลงจะเห็นลักษณะได้ชัดเจน น้ำหนักแรงกดมีส่วนสำคัญมาก ต้องกดแรงพอที่จะให้อวัยวะเพศโผล่ขึ้นเหนือช่องท้อง

ลักษณะอวัยวะเพศเมีย เมื่อมองจากด้านบนจะมีลักษณะยาวรี เป็นรูปตัววีตั้งทำมุม 45 องศากับส่วนท้อง ไม่มีรูที่ปลายอวัยวะเพศ เมื่อมองจากด้านข้างโดยมองจากส่วนหางผ่านช่องทวารหนักไปที่อวัยวะเพศจะเห็นเส้นรอยแยกของอวัยวะเพศเมีย จากปลายยอดของอวัยวะเพศจรดช่องทวารหนัก

ลักษณะอวัยวะเพศผู้ เมื่อมองจากด้านบน จะมีลักษณะนูนกลม เป็นท่อ มีรูที่ปลายอวัยวะเพศ เมื่อมองจากด้านข้าง จะเป็นท่อกลมตั้งฉากกับส่วนท้อง